fbpx
แชร์บทความนี้

สิ่งที่ควรคํานึงในการสร้าง ลายปัก ตอนที่1

cover

        เริ่มแรกในการออกแบบหรือสร้างลายปักสําหรับทุกคนอาจดูเป็นเรื่องที่วุ่นวาย แต่ถ้าเราทําความเข้าใจพื้นฐานของการออกแบบลายปักเป็นอย่างดี สามารถเข้าไปศึกษาดูได้จากคอร์สออนไลน์โปรแกรม PE-DESIGN10 (https://pinntraining.com/pe-design-101/) บทที่2 ถึง บทที่ 6 เมื่อเราทําความข้าใจแล้วจะทําให้เรามีหลักการเริ่มในการทําลายปักที่ถูกต้อง บทความนี้จะมานําเสนอข้อมูล และเทคนิคเพิ่มเติมในการสร้างลายปักสําหรับมือใหม่ และผู้ที่สนใจในการออกแบบลายปัก ในตอนที่ 1 จะนําเสนอ 7 หัวข้อหลักที่พึงปฏิบัติสําหรับการออกแบบลายปักไว้ดังนี้

1. อย่าวางใจการเปลี่ยนฝีเข็มแบบอัติโนมัติ DON’T RELY ON AUTO DIGITIZING
        โปรแกรมอออกแบบลายปักส่วนใหญ่มีคําสั่งและความสามารถในการแปลงรูปภาพ หรือไฟล์เป็นลายปักแบบอัติโนมัติ แต่ผลที่ได้จากการปักที่แท้จริงแล้วเทียบกับการที่เราออกแบบและวาดด้วยเครื่องมือด้วยตัวเองไม่ได้ เหตุผลเพราะเราไม่อาจควบคุมลักษณะของฝีเข็ม ทิศทางของไหมปักตลอดจนความหนาแน่นซึ่ง 3 สิ่งเบื้องต้นนี้จัดเป็นปัจจัยหลักที่ทําให้ลายปักของเราออกมาสวยงาม

2. แปลงลายปักอัติโนมัติเป็นบางครั้ง DO AUTO DIGITIZE SOME THINGS
        การแปลงลายปักแบบอัติโนมัติช่วยประหยัดเวลามาก แต่รูปทรงที่จะนํามาแปลงเป็นลายปักไม่ควรจะซับซ้อน จํานวนสีไม่มาก หรือการแปลงรูปภาพอาจแปลงจากภาพวาดเป็นลายปักด้วยคําสั่ง Photo2stitch ในโปรแกรม PE-DESIGN ซึ่งชิ้นงานที่ออกมาจากคําสั่งนี้ปักสวยงามสมจริงมาก แต่ต้องอาศัยเทคนิคเพิ่มเติมในการปรับตั้งค่าต่างๆ โดยสามารถคอร์สออนไลน์โปรแกรม PE-DESIGN10 (https://pinntraining.com/pe-design-101/) บทที่ 34

3. ใช้ทิศทางไหมที่หลากหลายเพื่อเพิ่มมิติให้กับงานปัก VARY YOUR STITCH ANGLE
        ปกติทิศทางไหมที่เป็นค่ามาตราฐานในโปรแกรมออกแบบลายปักจะเป็นทิศทางมุมเฉียง 45 องศา นั้นหมายความว่าถ้าเราวาดลายปักโดยไม่ปรับเปลี่ยนทิศทางไหม ไหมปักก็จะรั้งผ้าไปในแนวเดียวกันหมด ทําให้วัสดุที่เราปักโยกเฉียงไปในทางเดียว นอกจากนี้ยังทําให้ชิ้นงานขาดมิติ การปรับทิศทางไหมให้เหมาะสมกับแสงเงาจะทําให้ให้ชิ้นงานมีความสมดุลของการรั้งและยังได้มุมมองที่สวยงาม โดยผู้เริ่มต้นอาจศึกษาทิศทางไหมจากลายปักที่มีผู้ออกแบบไว้ก่อนแล้ว จึงนํามาประยุกต์ดัดแปลงกับงานของเราได้

4. เลือกใช้โครงก่อนการเย็บ (Under Lay) ให้เหมาะสมกับขนาดฝีเข็มในชิ้นงาน USE UNDEYLAY
        ก่อนการปักส่วนใหญ่ Undey Lay จะเป็นตัวโครงที่จะทําให้ลายปักยึดวัสดุติดกับแผ่นรองและเป็นโครงสร้างหลักที่ทําให้ฝีเข็มแข็งแรง ช่วยให้ความหนานแน่นของลายปักสมบูรณ์แบบ ซึ่งในบทความต่อๆ ไปจะมานําเสนอถึงลักษณะของ Under Lay ประเภทต่างๆกันนะครับ

5. การเลือกใช้เส้นขอบนอกช่วย OUTLINING
        เมื่อเราออกแบบงานปักและต้องการให้บริเวณนั้นโดดเด่นมากกว่าปกติ การใช้เส้นเดินขอบ RUNNING STITCH สามารถช่วยตัดขอบเพื่อดึงความโดดเด่นของลายปักบริเวณนั้นในแสดงออกมาได้

6. วาดลายปักจากส่วนประกอบด้านหลังขึ้นไปด้านบน DIGITIZE ELEMENTS FROM BACK TO FRONT
        เมื่อเราเริ่มออกแบบลายปักควรมีกลยุทธ และการวางแผนอย่างดี โดยต้องคํานึงว่าชิ้นใดและสีไหมใดถูกปักก่อนควรวาดก่อน และชิ้นใดหรือสีไหมใดถูกปักทีหลังควรวาดทีหลัง บริเวณที่ปักสีไหมเดียวกันควรวามพร้อมกันและต่อเนื่องกันเพื่อให้งานปักต่อเนื่องกันไปอย่างดี

7. พยายามให้มีด้ายหรือไหมโยงน้อยที่สุด MINIMIZE THE JUMP STITCHES
        การที่เราออกแบบให้งานปักต่อเนื่อง จะทําให้เวลาในการปักลดลงมาก การตัดด้ายจะน้อยลงทําให้ถนอมใบมีของจักรปัก นอกจากนั้นการหยุดปักแต่ละครั้งจะต้องมีการผูกปมของไหมปัก เมื่อมีปมเป็นจํานวนมากโอกาสที่ชิ้นงานจะหลุดมีความเป็นไปได้สูง เพราะฉะนั้นการออกแบบลายปักที่ดีควรวาดให้มีด้ายโยงเท่าที่ควรจะเป็น

        ฝากบทความเกี่ยวกับเทคนิคการออกแบบงานปักในตอนต่อๆ ไปด้วยนะครับ สําหรับท่านใดที่ในใจศึกษาคอร์สออนไลน์การสร้างลายปักด้วยโปแกรม PE-DESIGN 10 สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่

คอร์สเรียนออนไลน์ PE Design

 

หรือท่านใดสนใจทดลองใช้โปรแกรมลายปัก PE-DESIGN 11 ก่อนตัดสินใจซื้อ สามารถเข้าไปโหลดเวอร์ชั่นทดลองได้ที่

http://www.brother.com/common/hsm/ped11/ped11trial.html

และท่านใดสนในสั่งซื้อและดูรายละเอียดเพิ่มเติมสําหรับโปรแกรม PE-DESIGN 11 ซอฟต์แวร์การออกแบบลายปัก เวอร์ชั่นล่าสุดจาก Brother เต็มไปด้วยคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพและประหยัดเวลาในการออกแบบ

ซอฟต์แวร์นี้มีไว้สำหรับทั้งผู้ทำงานอดิเรกทั่วไปและผู้เริ่มต้นประกอบการธุรกิจจักรปักในเวอร์ชั่นนี้มีสิ่งที่น่าสนใจ อาทิ

        1. ลายปักที่ติตั้งมาพร้อมกับโปแกรมมาถึง 1,000 ลาย ตัวอักษรภาษาอังกฤษมากถึง 130 รูปแบบ

        2. ความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการเปลี่ยนรูปภาพเป็นลายปักและการทําภาพครอสติช

        3. สามารถทํางานร่วมกับเครื่อง SCANNCUT นําเข้าไฟล์และส่งออกไปยัง CanvasWorkspace ได้อย่างง่ายดาย

ยังมีเครื่องมือและลูกเล่นเพิ่มขึ้นสามารถติดตามอ่านบทความเพื่มเติมได้ทางลิ้งค์นี้นะครับ

pe-design 11

วีดิโอการใช้งานคำสั่งใหม่เบื้องต้น (นาทีที่ 0-7.50)

สั่งซื้อโปรแกรมได้จากลิ้งค์นี้เลยนะครับ

โปรแกรมออกแบบลายปัก PE Design 11

สอบถามเพิ่มเติม หรือ สนใจไปชมสาธิต
และทดลองใช้จักร ฟรี!!  ที่หน้าร้าน Pinn Shop
กรุณากดปุ่ม *คุยกับแอดมิน*
ส่งข้อความทักได้เลยค่ะ

สำหรับผู้สนใจและผู้ใช้จักรปักคอมพิวเตอร์ทุกท่าน Pinn Shop ขอชวนมาเข้ากลุ่มเฟสบุ้ค *กลุ่มจักรปักคอมพิวเตอร์ Pinn Shop* สังคมดีๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีความสุข มาแชท ชม แชร์ ไอเดียดีๆมีทุกวันค่ะ