การแก้ไขปัญหาจักรปักคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานด้วยตัวเอง
ปัจจุปันงานปักด้วยจักรปักคอมพิวเตอร์เป็นงานอดิเรก และงานในลักษณะอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในเมืองไทย เพราะมีกลุ่มของผลิตภัณฑ์ให้สามารถปักและนําไปจําหน่ายได้หลากหลาย แถมยังมีจักรปักคุณภาพสูงให้เลือกหลากหลายรุ่น
การที่เราอยู่กับจักรปักคอมพิวเตอร์ และสามารถแก้ไขปัญหาของตัวจักรเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองจะทําให้งานปักของเราไม่หยุดชะงัก
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับง่ายๆ ที่ควรคำนึงถึงขณะใช้งานจักรปักคอมพิวเตอร์และวิธีดูแลลรักษาด้วยตัวเอง
1. เข้าใจและเลือกใช้เข็มที่ถูกต้อง
การเลือกเข็มที่ถูกต้องและเลือกใช้เข็มแท้จากโรงงานมาตราฐานจะทําให้งานปักของคุณมีคุณภาพสูง เข็มไม่บิ่น งอ หรือหักง่าย เคล็ดลับสําหรับเรื่องเข็มคือ หมั่นเช็คความคมของเข็มทุกๆ 1 – 3 เดือน โดยอาจถอดเข็มและใช้ปลายนิ้วลูบว่ายังมีความคมอยู่หรือไม่
2. เลือกไหมปักคุณภาพสูง
การเลือกใช่ไหมปักคุณภาพสูงมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ไหมปักคุณภาพสูง จะทนต่อแรงตึงด้ายสูง ทําได้สามารถปรับแรงตึงด้ายบนที่ตัวเครื่องได้สูง ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือ การตัดไหมจะขาดแบบสมํ่าเสมอ จักรปักไม่หยุดการทํางานบ่อยจากปัญหาด้ายขาด เพราะถ้าเราเลือกใช้ไหมปักคุณภาพต่ำแต่ปรับแรงตึงด้ายบนสูงโอกาสเพื่อต้องการให้ตัดได้ให้ขาดสม่ำเสมอไหมปักที่มีคุณภาพต่ำอาจขาดได้ง่ายกว่าไหมปักที่มีคุณภาพสูง
3. การดูแลเบ้าประสวย
การดูแลเบ้ากระสวยให้สะอาดอยู่เสมอมีผลต่องานปัก เพราะถ้าเบ้ากระสวยมีเศษด้ายหรือฝุ่นที่สกปรก แรงตึงด้ายอาจมีค่าที่ผิดปกติทําให้ลายปักของเราผิดเพี้ยนไปจากเดิมโดยที่เราไม่รู้ตัว
4. การปรับแรงตึงด้าย
การปรับแรงตึงด้ายเป็นองค์ประกอบสําคัญอย่างหนึ่งที่จะทําให้เราทํางานปักได้สวนงามแรงตึงด้ายปักที่เหมาะสมทําให้ชิ้นงานสมบูรณ์แบบ แรงตึงด้ายที่พอดีไม่ใช้ไหมปักมากเกินไป ไม่ทําให้เกิดการย่น สามารศึกษาตัวอย่างการปรับแรงตึงด้ายจากคลิปด้านล่างนี้
5. การกรอกด้าย
การกรอด้ายล่างที่ถูกวิธีจะทําให้งานปักมีความต่อเนื่อง การกรอควรกรอให้เป็นทรงกระบอกให้น้ำหนักถ่ายเทสมดุลไปรอบๆ ใส้กระสวย การทําในลักษณะนี้จะทําให้ด้ายการเกี่ยวและผูกระหว่างด้ายบนกับด้ายล่างมีความสม่ำเสมอ ชิ้นงานปักออกมาสวยงาม
6. การทําความสะอาด
การทําความสะอาดเป็นสิ่งที่จําเป็น และจัดว่าเป็นหัวใจหลักในการบำรุงรักษาจักรให้ใช้งานได้อย่างยืนยาว โดยในความสะอาดภายนอกอาทิ ฝุ่นหรือคราบต่างๆ เราสามารถมองเห็นและทำการเช็หรือปัดได้ แต่ส่วนที่เรามองไม่เป็น อาทิ บริเวณเบ้ากระสวย หรือโรตารี่ฮุก ส่วนนี้ต้องหมั่นทําความสะอาด โดยการนําเอาเศษด้ายและดูดฝุ่นออกให้หมดเพื่อให้ทางเดินของไหมปักเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
7. การหยอดน้ำมัน
การหยอกนํ้ามันในส่วนข้อต่อเป็นสิ่งที่ต้องหมั่นทําเป็นประจําทุกสัปดาห์ ยิ่งถ้าเรามีการใช้จักรปักทุกวัน การเสียดสีของข้อต่อย้อมมีการทํางานหนัก การหยอดน้ำมันนอกจากจะลดการเสียดสีแล้วยังเป็นการถนอมให้จักรปักของเรามีอายุการใช้งานที่ยาวนานเพิ่มจากปกติอย่างแน่นอน น้ำมันที่หยอดแนะนําให้เป็นแบบใส หยอก 1 – 2 หยดตามคู่มือการใช้งาน ลิ้งค์ด้านล่างจะเป็นนํ้ามันทีทาง PINNSHOP จัดจําหน่ายนะครับ
8. เครื่องสํารองไฟ / ระบบไฟ
เครื่องสำรองไปจัดเป็นอุปกรณ์เสริมในเมื่อไฟฟ้าตก หรือดับกระทันหัน ประโยชน์ของเครื่องสำรองไฟ คือ ปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเกิดไฟตก, ไฟดับ, ไฟกระชาก และไฟเกิน
โดยวิธีการเลือกใช้งาน และเลือกขนาดเครื่องสำรองไฟฟ้า UPS มีข้อแนะนําเบื้องต้นดังนี้ โดยปกติเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) จะสำรองไฟได้ประมาณ 5-10 นาที (ขึ้นอยู่กับขนาด UPS แต่ละรุ่น) หากต้องการให้ระยะเวลาสำรองที่นานขึ้น ทำได้โดยเลือกเครื่องสำรองไฟฟ้าที่มีขนาด VA ใหญ่ขึ้นและเลือกเครื่องสำรองไฟฟ้าที่สามารถต่อแบตเตอรี่เพ่ิมเติมได้ภายนอก (รุ่น S Series ขึ้นไป)
9. การดูแลหน้าจอ LCD
การดูแลลหน้าจอจักรปักให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หลักเลี่ยงการใช้วัตถุปลายแหลม หลีกเลี่ยงของเหลว โดย พื้นผิวของจอภาพ LCD ผ่านกระบวนการเป็นพิเศษเพื่อลดการสะท้อนแสง การดูแลรักษาที่ไม่ถูกต้องอาจลดประสิทธิภาพของจอภาพ LCD ดังนั้นโปรดทำตามคำแนะนำต่อไปนี้: เช็ดจอภาพ LCD เบาๆด้วยผ้านุ่มๆอย่างเช่น ผ้าเช็ดทำความสะอาด ผ้าเช็ดแว่นตาคราบสกปรกอาจเช็ดออกได้ด้วยผ้านุ่มๆ อย่างเช่น ผ้าเช็ดทำความสะอาดหรือผ้าเช็ดแว่นตาชุบน้ำเล็กน้อย ห้ามใช้สารทำละลาย อย่างเช่น แอลกอฮอล์ เบนซิน หรือทินเนอร์, กรด ด่าง หรือ สารกัดกร่อน หรือผ้าเช็ดสารเคมี เพราะสารเหล่านี้จะทำลายผิวของจอภาพ LCD