พื้นฐานการออกแบบลายปัก
ลายปักคืออะไร
ลายปักคือ ไฟล์ดิจิตอลที่เป็นตัวควบคุมการทํางานของตัวเครื่องจักรให้เคลื่อนที่ไปมาอย่างอิสระ เป็นไฟล์เฉพาะที่ถูกสร้างหรือวาดขึ้นด้วยโปรแกรมออกแบบลายปัก
ไฟล์ลายปักในปัจจุบันนั้นจะสามารถรองรับตัวจักรปักคอมพิวเตอร์หลากหลายรุ่น ทําให้เรื่่องของงานปักด้วยจักรคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่ไม่ยากในการเริ่มทําอาชีพหรือธุรกิจในลักษณะแบบนี้
ลายปักมาจากไหน
การได้มาซึ่งลายปักในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 ช่องทางใหญ่ๆ ได้แก่
1.ลายปักที่มีแจกหรือขายในอินเทอร์เน็ต
ลายปักประเภทนี้เราสามารถค้นหาได้จากทางอินเทอร์เน็ตซึงจะมีทั้งในรูปแบบของการแจกฟรี หรือการขายจากบริษัท/ดีไซน์เนอร์อิสระ ซึ่งราคาก็ขึ้นอยู่กับขนาดและความยากง่ายของลายปัก
บางเว็บไซต์ก็มีการเปิดให้ทดลองดาวน์โหลดฟรีในช่วงแรกเพื่อให้ผู้ใช้ได้ทดลองนํามาปักเพราะจะได้ให้ลูกค้าเห็นถึงฝีเข็มที่แท้จริงเมื่อทําการทดลองปักออกมา
2.ลายปักจากตัวเครื่องปัก
ลายปักประเภทนี้โรงงานผู้ผลิตจักรจะติดตั้งลายปักมาในตัวจักรเพื่อให้ผู้ใช้งานนําลายเบื้องต้นมาทดลองปักได้โดยไม่ต้องออกแบบลายด้วยตัวเอง ลายปักที่มีมาให้ส่วนใหญ่จะมีประมาณ 100-200 ลาย และมีตัวอักษรภาษาอังกฤษมาให้เพิ่มเติมด้วย ลายปักในตัวเครื่องจะเป็นลายปักสําเร็จรูปที่ตัวผู้ใช้ไม่สามารถปรับค่าต่างๆ ได้โดยจักรบางรุ่นจะมีลายพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อตัวจักรรุ่นนี้โดยเฉพาะ อาทิจักรปัก Brother รุ่น NV980K ซึ่งเป็นรุ่นที่มีลายลิขสิทธิ์ KITTY มาพร้อมกับตัวเครื่อง
3. ลายปักที่มาจากการวาดหรือออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
ลายปักประเภทนี้ต้องใช้ทักษะและความสามารถในการวาดหรือออกแบบด้วยตัวเอง โดยต้องอาศัยความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ ทักษะการวาดด้วยเม้าส์หรือปากกาดิจิตอล สําหรับโปรแกรมวาดลายปักที่ใช้กันจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
3.1 Automatic punch software เป็นซอฟแวร์ที่ทุกคนสามารถทําได้เพราะเป็นการทํางานแบบอัตโนมัติ แต่จะเหมาะกับรูปทรงพื้นฐานง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ตัวโปรแกรมจะไม่สามารถปรับค่าลักษณะพิเศษต่างๆ ได้เลย
3.2 Professional punch software เป็นซอฟแวร์ออกแบบลายปักสําหรับมืออาชีพ โดยมีการแบ่งระดับการใช้งานสําหรับผู้เริ่นต้นใช้งาน
ผู้ใช้งานที่มีประสบการณ์ และผู้ใช้งานระดับมืออาชีพ
โปรแกรมลายปักที่ใช้ในปัจจุบันทั่วโลกมีอยู่มากมายโดยโปรแกรมที่นิยมใช้ในประเทศไทยมีดังนี้
- 1. PE-DESIGN by BROTHER
โปรแกรม PE-DESIGN 10 เป็นโปรแกรมสําหรับผู้เริ่มต้นใช้งานจนถึงผู้ใช้งานระดับกลาง โดยตัวโปรแกรมจะใช้งานง่ายมีเครื่องมือและคําสั่งที่ไม่ซับซ้อนทําให้การออกแบบลายเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไปสําหรับมือใหม่ อีกทั้งการทํางานของขนาดไฟล์จะสัมพันธ์กับขนาดของการปักเสมอ คือผู้ใช้/ผู้ออกแบบจะไม่มีทางเกิดปัญหาการปักนอกสดึงได้เลย อีกทั้งในเรื่องของไฟล์เมื่อเซพมาเพื่อทําการปักสีไหมก็จะตรงกับหน้าจอที่เราออกแบบ ทําให้ตัดปัญหาเรื่องของสีในการออกแบบไม่ตรงกับสีของหน้าจอเมื่อเรานําไฟล์ไปปัก จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งสําหรับโปแกรม PE-DESIGN 10 คือเรื่องของการทําภาพเหมือน (Photo to Stitch) ซึ่งวิธีทําง่ายแถมเวลาปักออกมาให้ความสวยงามในระดับมืออาชีพ ในเรื่่องข้อจํากัดของโปรแกรมเมื่อเราทําลายที่มีความซับซ้อนโปรแกรมจะตอบสนองช้าและไม่มีเครื่องมือหรือคําสั่งที่ิเศษครอบคลุมในลายปักที่ซับซ้อน
แต่เมื่อเราสามารถทําถึงจุดนั้นแสดงว่าผู้ใช้งานโปรแกรมต้องขยับตัวเองไปเป็นนักออกแบบลายปักแบบมืออาขีพนั้นเอง
แนะนําลูกเล่นใหม่สําหรับการใช้งานโปรแกรม pe-design 10
PE-DESIGN 10 OVERVIEW
ใหม่ล่าสุดด้วย USB Dongle
แทนที่ตัวเก่าในโปรแกรม PE-DESIGN Next ที่มี USB Dongle ขนาดใหญ่
ซึ่งยากต่อการพกพา ออกแบบมาให้มีนํ้าหนักเบา สะดวกต่อต่อติดตั้งโปรแกรมในทุกสถานที่
ออกแบบหน้าต่างการใช้งานให้ง่ายมากขึ้นเมื่อผู้ใช้เปิดโปรแกรมขึ้นมาในทุกครั้งจะมีหน้าต่างต้อนรับการใช้งานที่รวมเอาคําสั่งที่ใช้เป็นประจํา
การเลือกลวดลายสําเร็จรูปมาแก้ไข การเปิดไฟล์ การตั้งค่าสดึง ทําให้เราทัางานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
มองเห็นลายปักเสมือนรูปภาพในเวอร์ชั่น 10 โปรแกรม pe-design ถูกออกแบบใาให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นไฟล์ลายปักในรูปแบบของภาพ
อีกทั้งยังมีลายปักสําเร็จรูปมากกว่า 1,000 ลาย และลายปักใหม่ล่าสุดอีก 350 ลาย
อัจฉริยะด้วยระบบเรียงสีอัติโนมัติ
ประหยัดเวลาในการออกแบบด้วยระบบการจัดเรียงสีแบบอัติโนมัติด้วยคําสั่งเดียว
ทําให้นักออกแบบสามารถจัดเรียงกลุ่มสีเดียวกันได้อย่างง่ายดาย
เพื่มตัวอักษรใหม่พร้อมระบบคัดกรอง
ช่วยให้ผู้ใช้ทํางานได้สะดวกชึ้นด้วยระบบตัวอักษรใหม่ บอกผู้ใช้ถึงขนาดเล็กที่สุดที่แนะนําให้ปักได้
แนะนําการตั้งค่าวัสดุในการปัก
ฟังก์ชั่นใหม่ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งในเวอร์ชั่นนี้คือการที่มีคําแนะนําเบื่องต้น
ในการตั้งค่าพื้นฐาน และการเลือกวัสดุรองปักสําหรับผ้าแต่ละชนิด ทําให้ผู้ใช้มีแนวทางในการตั้งค่าเริ่มต้น
เป็นทางเลือกที่จะทําให้ลายปักออกมาสวยงามได้อย่างดี
2. โปรแกรม Wilcom Design Studio
เป็นโปรแกรมออกแบบลายปักระดับมืออาชีพโดยในปี 1997 Wilcom ได้เริ่มพัฒนาโปรแกรมเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมการเย็บปักถักร้อย โดนสํานักงานใหญ่ของ Wilcom ตั้งอยู่ที่ซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย วันนี้ Wilcom มีสาขาอยู่ในกว่า 100 ประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 12 ภาษาและมีชุมชนทั่วโลกซึ่งมีลูกค้าที่อยู่ในสังคมออนไลน์มากกว่า 250,000 ราย การเติบโตของ บริษัท ได้รับแรงหนุนจากนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยปัจจุบันในปี 2018 ได้ออกโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดทีเรียนสั้นว่า Wilcom E4 โดยในโปรแกรมล่าสุดยังแบ่งระดับของฟังก์ชั่นการใช้งานไว้หลายระดับเพื่อให้ผู้ใช้อัพเกรดตามลักษณะงานที่ตัวเองได้ออกแบบลายปักนั่นเอง
4. ลายปักทีส่งต้นฉบับไปให้ช่างตีลาย
เป็นการที่เราส่งรูปภาพ/กราฟิก ไปให้ช่างตีลายที่มีความสามารถในการใช้โปรแกรมออกแบบลายปักและมีประสบการณ์ในการปัก สร้างลายที่เป็นไฟล์ลายปักกลับมา โดยปัจจุบันยังไม่สามารถแปลงไฟล์ที่เป็นรูปภาพมาเป็นลายปักได้อย่างสมบูรณ์ สําหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มธุรกิจจักรปักหรือผู้ที่เริ่มไปแล้วแต่ไม่ชอบตีลายปักด้วยตัวเอง ทีมช่างตีลายน่าจะเป็นคําตอบที่ดีที่สุด
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป้นเพียงแค่พื้นฐานในการออกแบบลายปัก การออกแบบลายปักอันที่จริงเป็นเรื่องที่ไม่อยากหรือง่ายจนเกินไปสําหรับมือใหม่ แต่ต้องอาศัยควรเพียร การหาความรู้ที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ การที่จะออกแบบลายปักได้ดีต้องมีการทดลองปัก นําลายที่ปักมาวิเคราะห์ถึงจุดที่ควรจะต้องปรับปรุง หมั่นเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตัวเองในทักษะทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ
ทั้งนี้เมื่อเราฝึกฝนและมีประสบการณ์มากขึ้นเชื่อว่าทุกคนจะสามารถสร้างลายปักได้ด้วยตัวเองอย่างแน่นอน